วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พระกษิติครรภโพธิสัตว์

                 
                พระกษิติครรภโพธิสัตว์ทรงเคยถือกำเนิดเป็นบุตรีในสกุลพราหมณ์ ครอบครัวหนึ่ง บิดาชื่อ "ชีรชิณณพราหมณ์" มารดาชื่อ "ยัฏฐีลีพราหมณี" บิดาได้ถึงแก่กรรมก่อนมารดา จึงทำให้อาศัยอยู่กับมารดาตลอดมา พระองค์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพราหมณี เป็นผู้มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เป็นคนใจดีมีเมตตา อยู่ในศีลในธรรม ส่วนมารดานั้นกลับประพฤติตรงข้ามกับบุตรี ไม่นับถือพระรัตนตรัย ไม่เชื่อเรื่องกรรม ไม่เชื่อเรื่องสวรรค์หรือนรก แม้ว่าพราหมณีบุตรีจะชักชวนหรือโน้มน้าวจิตใจอย่างไร เพราะนางยัฏฐีลีพราหมณีมีมิจฉาทิฐฐิรุนแรง ต่อมา นางยัฏฐีลีพราหมณี ได้ถึงแก่กรรมลง ผลกรรมที่นางทำไว้ทำให้นางไปตกนรกอเวจี
            ฝ่ายทางนางพราหมณีบุตรี เมื่อมารดาได้ถึงแก่กรรมลง นางมีความโศกเศร้าเสียใจ เพราะรู้แน่ว่า มารดาคงไม่ไปสู่สุคติ นางอยากช่วยเหลือมารดา แม้ว่าจะต้องสูญเสียทรัพย์สมบัติมีค่า หรือชีวิตของนางก็ตาม นางจึงได้ขายบ้านเรือน และของมีค่าทั้งหมดที่มี โดยรวบรวมเงินทั้งหมดไปซื้อดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องสักการะบูชาต่างๆ ไปสักการะบูชาตามวัดวาอารามต่างๆ และนำไปบริจาคทานแก่คนยากจน และสัตว์ที่อดอยากหิวโหย เพื่อเป็นการอุทิศบุญกุศลให้แก่มารดาที่ล่วงลับไปแล้ ว นอกจากนี้นางพราหมณีบุตรี ยังเป็นผู้ถือศีล บำเพ็ญเพียรภาวนา บูชากราบไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระนามว่า พระสัมมาสัมพุทธปัทมอิศวรชาตตถาคต) โดยนางภาวนาขอให้ผลของการบริจาคทานของนาง จงเกิดเป็นกุศลผลบุญไถ่บาปให้กับมารดาและพ้นจากนรก และไปสู่สคติ
            เนื่องจากการปฏิบัติธรรมอย่างเสมอต้นเสมอปลายเรื่อยม า ทำให้วันหนึ่งนางพราหมณีบุตรีได้ยินเสียงทิพย์กระซิบ บอกนางว่า "ดูกร พราหมณี จงหยุดเศร้าโศกเถิด ตถาคตจะชี้ทางให้
            นางพราหมณี เกิดความยินดีอย่างมาก ก้มลงกราบและอธิษฐานว่า "ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระเมตตา โปรดบอกที่อยู่ของมารดาของข้าพระองค์ด้วยเถิด เนื่องจากข้าพระองค์ได้ตั้งจิตไว้ว่า จะขอพบมารดาเพื่อทราบความเป็นอยู่ของท่านว่ามีสุขทุก ข์อย่างไรบ้าง แม้จะต้องเอาชีวิตเข้าแลกก็ยินดี หากจะช่วยเหลิอมารดาของข้าพระองค์ให้มีความสุขได้
            แต่หลังจากนั้น เนื่องจากไม่มีเสียงตอบรับใดๆ อีกเลย นางจึงบังเกิดความเศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้จนเป็นลมไป พอนางฟื้นขึ้นมา นางก็ได้ยินเสียงทิพย์เข้ามาที่หูว่า "ดูกร พราหมณี จงหยุดเศร้าโศกเถิด บุญกุศลที่เจ้าทำทั้งการสักการะบูชาพระพุทธ และการบริจาคทานนั้น บุญกุศลแรงนัก จงหมั่นปฏิบัติบำเพ็ญต่อไป จะบังเกิดผลแก่มารดาดังความปรารถนา" ทำให้นางดีใจและปิติสุขอย่างมาก และอธิษฐานขอให้นางได้พบมารดาดังที่หวังไว้

               ต่อมานางพราหมณีบุตรีได้นั่งเจริญวิป้สสนากรรมฐานอย่างแน่วแน่ บุญกุศลได้ดลบันดาลให้วิญญาณของนางออกจากร่างไปสู่ยั งมหาสมุทรแห่งหนึ่ง ซึ่งน่ากลัวมาก น้ำทะเลที่นั่นเป็นน้ำเดิอด และมีอสูรกายตัวใหญ่น่ากลัวกำลังไล่จับมนุษย์ที่ลอยค ออยู่ในน้ำจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน เพื่อฉีกกินเป็นอาหาร น่ากลัวมากจนนางไม่กล้าหันไปมองด้วยความกลัวและสงสาร มนุษย์เหล่านั้น

                ในระหว่างนั้นเอง ได้มีเทพอสูร นามว่า "บ่อตั๊ก" และบริวาร ได้เดินตรงเข้ามาหานางและพนมมือไหว้ และกล่าวว่า "สาธุ พระโพธิสัตว์ผู้เจริญ ท่านมาถึงแดนนรกนี้ ด้วยเหตุใด" นางพราหมณีบุตรีจึงตอบว่า "ข้าพเจ้ามีความประสงต์อยากทราบความเป็นอยู่ของมารดา ชื่อ ยัฏฐีลีพราหมณี ซึ่งได้ถึงแก่กรรมเมื่อไม่นานมานี้ ไม่ทราบว่าตอนนี้วิญญาณของนางไปอยู่ที่แห่งใด ข้าพเจ้าเป็นห่วงมารดามาก ขอโปรดอนุญาตให้ข้าพเจ้าได้พบมารดาด้วยเถิด"
             เทพอสูรเมื่อได้ฟัง จึงกล่าวตอบว่า "ข้าแต่พระโพธิสัตว์ผู้เจริญ มารดาของท่านนามว่า ยัฏฐีลีพราหมณี ได้เคยตกลงมาในดินแดนนรกภูมินี้ แต่เนื่องจากนางได้รับบุญกุศลอันประเสริฐและยิ่งใหญ่ จากการที่ท่านได้บำเพ็ญกุศลมาให้ มารดาของท่านได้ไปพ้นจากแดนนรกไปสู่สุคติแล้ว" พร้อมกับยกมือพนมพร้อมกับก้มลงแล้วจากไป
              เมื่อนางได้ทราบดังนั้น นางจึงมีความยินดีและหมดห่วงในตัวมารดา แต่นางกลับเกิดความสงสารบรรดามนุษย์ที่ตกนรกและได้รั บความทุกข์ทรมานแสนสาหัสเหล่านั้น จึงเกิดความเมตตาอันแรงกล้าที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ใ นนรกเหล่านั้น
               นางพราหมณีบุตรี จึงอธิษฐานต่อหน้าพระพุทธรูป ขอถือศีลภาวนา บำเพ็ญทานบารมี เพื่อโปรดสรรพสัคว์ในนรกอเวจีตลอดจนถึงอนาคต ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง อย่าได้เบื่อหน่ายต่อการบำเพ็ญกุศลกรรมดังกล่าว
               ด้วยเหตุที่ทรงบำเพ็ญบารมีเช่นนี้ จึงทำให้นางพราหมณีบุตรี เมื่อนางถึงแก่กรรม ได้กลับชาติมาเกิดเป็นบุรุษ และบำเพ็ญเพียรสร้างบารมี จนสำเร็จมรรตผลกลายเป็นพระโพธิสัตว์ พระนามว่า พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์

 
ที่มา : พระกษิติครรภโพธิสัตว์ มูลปณิธานสูตร

พระนางตารา

พระนางตารา

               เป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายหญิงในพระพุทธศาสนาแบบทิเบต คำว่าตารามาจากภาษาสันสกฤตหมายถึงข้าม การบูชาพระนางเริ่มเมื่อพุทธศตวรรษที่ 8 - 11 ในอินเดียเหนือและแพร่หลายที่สุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 - 17 โดยถือว่าเป็นชายาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปัจจุบันมีนับถือในทิเบต ส่วนชาวพุทธในจีนจะนับถือเจ้าแม่กวนอิมที่เป็นภาคหญิงของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์แทน
             คาดว่าแนวคิดการนับถือพระนางตาราเริ่มเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 8 และกลายเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือแพร่หลายในพุทธศตวรรษที่ 13-17 มีผู้นับถือมากในเนปาล ทิเบต และมองโกเลีย เชื่อกันว่าแนวคิดการบูชาพระนางตาราเริ่มขึ้นในอินเดียเพื่อต่อต้านพิธีกรรมสตี
            พระนางตาราได้รับการยกย่องว่าเป็นมารดาของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายในด้านของกรุณา ภาพลักษณ์ของพระนางส่วนหนึ่งจีนตนาการมาจากพระนางสิริมหามายาเทวี มารดาของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
  • ตำนานทางพุทธศาสนามหายานกล่าวว่า พระนางตาราเกิดจากน้ำตาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เมื่อมองเห็นว่าสัตว์โลกมีแต่ความทุกข์ เมื่อน้ำตาของพระองค์ไหลลงมาจนกลายเป็นทะเลสาบ จึงเกิดดอกบัวขึ้น และในดอกบัวนั้นมีพระนางตาราสถิตย์อยู่
  • ตำนานบางฉบับกล่าวว่า พระนางตาราเกิดจากรังสีธรรมของพระอมิตาภะพุทธะ
รูปลักษณ์ดั้งเดิมของพระนางตารามี 2 แบบ คือ "พระนางตาราเขียว" มีผู้นับถือมากในทิเบต และ "พระนางตาราขาว" มีผู้นับถือมากในมองโกเลีย เมื่อแนวคิดเกี่ยวกับการบูชาพระนางตาราพัฒนาขึ้น จึงมีการสร้างภาคโกรธและภาคดุขึ้นมาหลายแบบ เช่น พระนางตาราน้ำเงิน อุครตารา เอกชฎะ ภาคเอกชฎะนี้เป็นภาคดุที่แพร่หลายที่สุด กายสีน้ำเงิน มีตาที่สามบนหน้าผาก ตกแต่งร่างกายด้วยงูและพวงมาลัยศีรษะคน เหยียบอยู่บนร่างของคนตาย นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระนางตาราในภาคที่เป็นเทพแห่งความรักหรือเทพแห่งการรักษาโรคอีกด้วย

 พระนางตาราปางต่างๆ ในทิเบต พระนางตารามีหลายปางคือ
  • พระนางตาราขาว หรือ พระจินดามณีจักรตารา ทรงชุดขาวล้วน ถือดอกบัวบาน เป็นตัวแทนของความกรุณา มีพระเนตร 7 ดวง หมายถึงเฝ้ามองสรรพสัตว์อยู่ตลอดเวลา พระหัตถ์ขวาประทานพร พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัว และทำมุทราไตรลักษณ์
  • พระนางตาราเขียว หรือพระศยามตารา ทรงชุดเขียวล้วน ถือดอกบัวตูมสีน้ำเงิน ออกโปรดสรรพสัตว์ในเวลากลางคืน
  • พระนางตาราแดง ทรงสีแดงทับทิม หมายถึงความปรารถนาของสรรพสัตว์ที่จะหลุดพ้นจากสังสารวัฏ ประทับบนพระอาทิตย์
  • พระนางตาราดำ ทรงสีดำ หมายถึงสุญญตา ซึ่งเป็นความสามารถในการข้ามพ้นอวิชชา ความเห็นผิดต่างๆ
ที่มา : th.wikipedia.org/wiki/พระนางตารา

พระนางปรัชญาปารมิตา

พระนางปรัชญาปารมิตา


                 ทรงเป็นเทวนารีในพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานหรือตันตระยาน พระนางปรัชญาปารมิตาทรงเป็นเทวนารีในกุล หรือสายสกุลของพระชินอมิตาภะ พระพุทธเจ้าประจำทิศตะวันตก จึงทรงมีรูปพระชินอมิตาภะ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประทับปางสมาธิบนพระเศียร รูปลักษณ์ของพระนางมีสีกายขาวหรือเหลือง มีหลายแขน พระหัตถ์อยู่ในท่าธรรมจักรมุทรา ถือดอกบัว คัมภีร์ ลูกประคำ หรือวัชระ ลักษณะเด่นของพระนางคือเป็นที่รวมของพระธยานิพุทธะทั้งหลายไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นการสะท้อนปรัชญาธรรมคือความว่างที่สามารถแทรกซึมเป็นองค์ประกอบในทุกสิ่ง พระกรคู่หน้าของพระนางปรัชญาปารมิตาทรงอยู่ในท่า หมุนธรรมจักร หรือธรรมจักรมุทฺรา ด้านหลังพระองค์เป็นดอกบัวสีขาว มีคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาวางอยู่บนดอกบัว ส่วนในศิลปะกัมพูชา มักปรากฏในรูปสองกร พระหัตถ์ขวาทรงถือคัมภีร์ปรัชญาปารมิตา พระหัตถ์ซ้ายทรงถือดอกบัว

พระนางแบ่งตามวรรณะได้เป็น 3 วรรณะคือ
สิตปรัชญาปารมิตา หรือวรรณะขาว ประทับบนดอกบัวขาว พระหัตถ์ถือดอกบัวและคัมภีร์ ไม่มีปางดุร้าย
ปิตปรัชญาปารมิตา หรือวรรณะเหลือง พระหัตถ์ทำปางธรรมจักร รูปปั้นของวรรณะนี้พบมากในเกาะชวา
กนกปรัชญาปารมิตา หรือวรรณะทอง คล้ายวรรณะเหลืองแต่เพิ่มจำนวนดอกบัวและคัมภีร์ให้มากขึ้น เป็นที่นิยมในอินเดีย

              นอกจากนี้ยังมีรูปของพระนางปรัชญาปารมิตาในแบบตันตระ ซึ่งมีหลายเศียร โดยมากมี 11 เศียร 22 กร พระหัตถ์ถือคัมภีร์ ดอกบัว ธนู ลูกศร ประคำ

ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พระโพธิสัตว์กวนอิม


พระโพธิสัตว์กวนอิมในตำนานฝ่ายจีน


พระโพธิสัตว์กวนอิม (ประสูติ 19 เดือนยี่จีน) ชาติสุดท้ายเป็น ราชธิดานาม เมี่ยวซ่าน เดิมเป็นเทพธิดา จุติลงมายังโลกมนุษย์เพื่อมาช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ เป็นราชธิดาองค์สุดท้ายของกษัตริย์ เมี่ยวจวง ซึ่งมีราชธิดา 3 องค์ องค์โตชื่อ เมี่ยวอิม องค์รองชื่อ เมี่ยวหยวน เยาว์วัยเป็นพุทธมามกะ รู้แจ้งในหลักธรรมลึกซึ้ง ตั้งพระทัยแน่วแน่จะบำเพ็ญภาวนา เพื่อหลุดพ้นสังสารวัฏ ออกบวชวันที่ 19 เดือน 9 พระเจ้าเมี่ยวจวงไม่เห็นด้วย จะบังคับให้เลือกราชบุตรเขย เพื่อจะได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไป แต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไม่สนพระทัยเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ อันจอมปลอม แม้จะถูกพระบิดาดุด่าอย่างไร องค์หญิงก็ไม่เคยนึกโกรธเคืองแต่อย่างใด
ต่อมาองค์หญิงสามได้ถูกขับไปทำงานหนักในสวนดอกไม้ เช่น หาบน้ำ ปลูกดอกไม้ ทั้งนี้เพื่อทรมานให้เปลี่ยนความตั้งใจ แต่ก็มีเหล่ารุกขเทวดามาช่วยทำแทนให้ทั้งหมด พระบิดาเมื่อเห็นว่าไม่ได้ผล จึงรับสั่งให้หัวหน้าแม่ชี นำองค์หญิงสามไปอยู่ที่วัดนกยูงขาว และให้เอางานของแม่ชีทั้งวัดมอบให้องค์หญิงทำคนเดียว แต่องค์หญิงมีพระทัยเด็ดเดี่ยว ไม่เกี่ยงงานการต่างๆ ก็มีเหล่าเทพารักษ์มาช่วยทำแทนให้อีก พระเจ้าเมี่ยวจวงเข้าพระทัยว่า พวกแม่ชีไม่กล้าเคี่ยวเข็ญใช้งานหนัก ก็ยิ่งทรงกริ้วหนักขึ้น สั่งให้ทหารเผาวัดนกยูงขาวจนวอดเป็นจุณไป พร้อมกับพวกแม่ชีทั้งวัด มีแต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านเท่านั้นที่ปลอดภัยรอดชีวิตมาได้

พระเจ้าเมี่ยวจวงทรงทราบดังนั้น จึงรับสั่งให้นำตัวราชธิดาไปประหารชีวิต เทพารักษ์คอยคุ้มครองเจ้าหญิงอยู่ โดยเนรมิตทองทิพย์เป็นเกราะห่อหุ้มตัว คมดาบของนายทหารจึงไม่อาจระคายพระวรกาย ดาบหักถึง 3 ครั้ง 3 ครา พระบิดาทรงกริ้วยิ่งนัก โดยเข้าพระทัยว่านายทหารไม่กล้าประหารจริง จึงให้ประหารนายทหารแทน แล้วรับสั่งให้จับเจ้าหญิงไปแขวนคอ ทว่าผ้าแพรที่แขวนคอก็ขาดสะบั้นลงอีก

ทันใดนั้นปรากฏมีเสือเทวดาตัวหนึ่งได้นำเจ้าหญิงขึ้นพาดหลังแล้วเผ่นหนีไปที่เขาเซียงซัน ต่อมา เทพไท่ไป๋ได้แปลงร่างเป็นชายชรามาโปรดเจ้าหญิง ชี้แนะเคล็ดวิธีการบำเพ็ญเพียรเครื่องดับทุกข์ จนสามารถบรรลุมรรคผลสำเร็จธรรม วันที่ 19 เดือน 6 ข้างฝ่ายพระบิดาเข้าพระทัยว่า เจ้าหญิงถูกเสือคาบไปกินเสียแล้ว จึงไม่ได้ติดใจตามราวีอีก
ต่อมาไม่นานบาปกรรมที่พระองค์ก่อไว้ส่งผล เกิดป่วยด้วยโรคร้ายแรง ไม่มียารักษาให้หายได้ เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านได้ทรงทราบด้วยญาณวิถีว่า พระบิดากำลังประสบเคราะห์กรรมอย่างหนัก ด้วยความกตัญญูกตเวทีเป็นเลิศ มิได้ถือโทษโกรธการกระทำพระบิดาแม้แต่น้อย ทรงได้สละดวงตาและแขนสองข้าง เพื่อรักษาพระบิดาจนหายจากโรคร้าย ว่ากันว่า ภายหลังสำเร็จอรหันต์ ได้ดวงตาและพระกรคืน เคยแสดงปาฏิหารย์เป็นปางกวนอิมพันมือ องค์หญิงเมี่ยวซ่านนั้น ตอนแรกเป็นชาวพุทธ ตอนหลังเทพไท่ไป๋ได้มาโปรด ชี้แนะหนทางดับทุกข์ เหตุนี้พระโพธิสัตว์กวนอิมจึงเป็นเทพทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายเต๋าในเวลาเดียวกัน
ที่มา : วิกิพีเดียภาษาไทย http://th.wikipedia.org/